ต้นไม้ประจำวิทยาลัย : พญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R.Br.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : White Cheesewood
ชื่ออื่น : ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ หัสบรรณ
ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 15 –25 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลืองค่อนข้างหนา ใบ เดี่ยว เรียงกันเป็นวง 5-7 ใบ แผ่นในรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบ ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรืออมขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักเรียว ยาว 10 –20 เซนติเมตร เมล็ดเล็ก มีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นปุยติดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง
นิเวศวิทยา : ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำห้วยในป่าเบญจพรรณชื้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ออกดอก : เมล็ดแก่ประมาณเดือนมีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อหยาบอ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลม อักเสบ เป็นยาสมานลำไส้ ใบ ใช้พอก ดับพิษต่างๆ ยาง ทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย